การโอนลอย
การโอนลอย เป็นการดำเนินการจัดทำเอกสารสำหรับการโอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนเจ้าของจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ทรัพย์สินที่มักจะทำการโอนลอยค่อนข้างบ่อย ก็คือ การโอนลอยรถยนต์ และการโอนลอยรถมอเตอร์ไซค์ Newlorry จะมาสรุปให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันเกี่ยวกับเรื่องการโอนรถรถยนต์ และการโอนลอยรถจักรยานยนต์ แบบส่วนบุคคลว่ามีขั้นตอนวิธีการโอนลอยรถยนต์อย่างไร การโอนลอยต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ใครที่กำลังจะโอนลอยรถเปลี่ยนเจ้าของ หรือโอนลอยรถยนต์ข้ามจังหวัดไม่ควรพลาด ! แต่ก่อนอื่น เราไปดูกันก่อนเลยค่ะว่า การโอนลอย คืออะไร ?
เรื่องน่าสนใจที่แนะนำให้อ่าน
- การโอนรถ การโอนรถมอเตอร์ไซค์ มีขั้นตอนอย่างไร สรุปมาแล้วที่นี่ Update 2563 !
- เอกสารการโอนรถ ต้องใช้อะไรบ้าง ทั้งรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ มีบอกหมด Update ปี 2563 !
- การโอนรถข้ามจังหวัด มีวิธีการทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง Update 2563 !
การโอนลอย คืออะไร
การโอนลอย คือ การโอนรถยนต์ หรือ โอนรถจักรยานยนต์มอเตอร์ไซค์เพื่อเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของรถยนต์ ส่วนมากแล้วการโอนลอยรถยนต์จะนิยมทำกันเฉพาะการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนรถมือสองซะมากกว่า
ถ้าให้พูดแบบเข้าใจง่าย ๆ การโอนลอยรถยนต์ ก็คือการที่เจ้าของรถคันเก่า ขายรถให้กับเจ้าของรถรายใหม่ ซึ่งเจ้าของเดิมไม่ได้เดินทางไปโอนรถทำเรื่องที่สำนักงานขนส่ง แต่ได้มีการเซ็นเอกสารต่าง ๆ พร้อมกับกรอกแบบฟอร์มการโอนรถเอาไว้แล้ว ซึ่งเจ้าของรถยนต์รายใหม่ก็สามารถเดินทางไปทำเรื่องเองได้เลย โดยที่ไม่ต้องง้อเจ้าของเดิม เช่น
นายเอ ขายรถยี่ห้อนึงให้กับนายบี โดยนายเอได้เซ็นเอกสารต่าง ๆ พร้อมกับกรอกแบบฟอร์มการโอนรถเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ทำให้นายบีสามารถเดินทางไปโอนรถที่สำนักงานขนส่งเองได้เลย โดยที่นายเอไม่ต้องเดินทางไปโอนรถด้วยที่สำนักงานขนส่ง
การโอนลอย ใช้เอกสารอะไรบ้าง
สำหรับ เอกสารประกอบการโอนลอยรถยนต์ ที่ต้องใช้ในการโอนรถจะมีดังนี้ ไม่ว่าจะเป็นการโอนรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ก็ใช้ได้เช่นกัน
- สมุดทะเบียนรถตัวจริง
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถยนต์
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- แบบฟอร์มการโอนลอยรถยนต์ ดาวน์โหลดที่นี่ : แบบคำขอการโอนรถและรับโอน
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมลงรายมือชื่อเจ้าของรถยนต์
วิธีการโอนลอยรถยนต์
เชื่อว่ามีหลาย ๆ คนที่กำลังสงสัยว่า การโอนลอยทำอย่างไร กันแน่ สำหรับขั้นตอนวิธีการโอนลอยรถยนต์นั้นไม่ได้ยุ่งยากสักเท่าไหร่ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. เตรียมเอกสารการโอนลอยให้พร้อม
2. นำรถยนต์เข้าตรวจสภาพที่สถานที่ตรวจสภาพรถ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นสถานที่ตรวจสภาพของกรมการขนส่งเท่านั้น
3. ยื่นเอกสารการโอนรถที่งานทะเบียน
4. ชำระเงินค่าธรรมเนียมการโอนรถ
5. รับใบจดทะเบียนคู่มือรถยนต์ ใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายการเสียภาษี แผ่นป้ายทะเบียนรถใหม่
การโอนลอยรถมอเตอร์ไซค์
สำหรับการโอนลอยรถมอเตอร์ไซค์ ก็แทบจะไม่ได้มีความแตกต่างจากการโอนลอยรถยนต์สักเท่าไหร่ เอกสารการโอนลอยรถจักรยานยนต์ ก็จะเหมือนกับการโอนลอยรถมอเตอร์ไซค์ มีความแตกต่างในเรื่องของขั้นตอนแค่เล็กน้อย คือ
การโอนลอยรถยนต์ จะต้องกรอกแบบฟอร์มการโอนรถก่อน แล้วค่อยนำรถไปตรวจเช็คสภาพภายหลัง
การโอนลอยรถมอเตอร์ไซค์ จำเป็นที่จะต้องนำรถไปตรวจเช็คสภาพก่อน จากนั้นก็ค่อยกรอกแบบฟอร์มการโอนรถ แล้วยื่นเรื่องโอนรถ ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ ก็จะเหมือนกันทุกอย่าง
ข้อดีของการโอนลอย
1. การโอนลอย สามารถทำเรื่องได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาทำเรื่องนาน
2. สามารถส่งเอกสาร และรถให้กับผู้ซื้อได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาไปทำเรื่องการโอนรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งพร้อมกัน
3. สามารถเปลี่ยนตัวผู้โอนได้อยู่เสมอ
ข้อเสียของการโอนลอย
1. หากผู้ซื้อรายใหม่ยังไม่ได้เดินทางไปจดทะเบียนที่สำนักงานขนส่ง หากระหว่างนั้นรถเกิดอุบัติเหตุ หรือเจ้าของรถรายใหม่นำรถไปใช้ทำสิ่งผิดกฎหมาย แน่นอนเลยว่าความซวยจะมาเยือนเจ้าของรถรายเก่าอย่างแน่นอน เพราะชื่อเจ้าของรถยังเป็นชื่อคนเก่าอยู่ ทำให้มีสิทธิ์โดนตั้งข้อกล่าวหาได้
2. ถ้าผู้ซื้อรายใหม่ยังไม่ไปโอนรถ และไม่ต่อภาษี แน่นอนเลยว่าค่าค้างการชำระต่อภาษีรถยนต์นั้นจะเป็นชื่อของเจ้าของรายเก่า อ่านเพิ่มเติม : ต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง เอกสารที่ใช้เตรียมได้ง่าย ๆ อ่านจบแล้วพร้อมทำได้ในทันที !
3. ถ้าเจ้าของรถรายใหม่ไปทำเรื่องการโอนลอยช้า จนบัตรประชาชนของเจ้าของรายเก่านั้นหมดอายุ ก็จะต้องเสียเวลารวบรวมเอกสารใหม่ หรือถ้าผู้ขายเกิดเหตุเสียชีวิต ก็ต้องเสียเวลาทำเรื่องการโอนรถใหม่เช่นกัน
การโอนลอยใช้เงินเท่าไหร่
ไม่ว่าจะเป็น การโอนลอย หรือการโอนรถปกติก็จะต้องเสีย ค่าธรรมเนียมการโอนลอยอย่างแน่นอน ราคาค่าใช้จ่ายการโอนลอยจะมีดังนี้
- ค่าธรรมเนียมการโอน 100 บาท
- ค่าคำขอ 5 บาท
- ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท/ราคาประเมินรถทุก 100,000 บาท
- ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท
- ค่าสมุดทะเบียนรถ 100 บาท
อ่านเพิ่มเติม : เล่มทะเบียนรถหาย สมุดทะเบียนรถหาย ต้องทำยังไง เข้าไฟแนนซ์ได้ไหม มีบอก ปี 2563 !
โดยสรุปแล้ว.. การโอนลอย ก็จะคล้าย ๆ กับการโอนรถแบบปกตินี่แหละ แต่แค่เจ้าของรถรายเดิมจะไม่ได้เดินทางไปทำเรื่องด้วยที่สำนักงานขนส่ง แต่จะเตรียมเอกสารการโอนลอย และแบบฟอร์มให้กับเจ้าของรถรายใหม่ไปทำเรื่องเอง ทางที่ดีที่สุด เมื่อเจ้าของรถรายใหม่ได้รับเอกสารการโอนลอยเรียบร้อยแล้ว ควรรีบหาเวลาไปทำเรื่องจดทะเบียนใหม่ให้เรียบร้อยอย่างไวที่สุด นอกจากนี้.. ตัวเจ้าของรถรายเดิมยังจะต้องตามเรื่องอีกด้วย เพราะหากปล่อยเอาไว้ และไม่สนใจอะไรเลย การโอนลอยรถยนต์ หรือการโอนลอยรถมอเตอร์ไซค์ ก็อาจจะสร้างปัญหาให้กับเจ้าของเดิมได้ เผลอๆ ได้เข้าไปนอนเล่นในซังเตแบบไม่รู้ตัว !