ค่าสินไหมทดแทน คืออะไร มีขั้นตอนการเบิกอย่างไร เข้าได้ง่าย ๆ ไม่เกิน 5 นาที

ค่าสินไหมทดแทน คืออะไร

ค่าสินไหมทดแทน

ในการทำประกันภัยทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันเดินทางก็ตาม สิ่งที่ผู้ทำประกันภัยจะได้รับเป็นสิ่งชดเชยหลังจากที่เกิดเหตุความเสียหายขึ้นจะเรียกว่า ค่าสินไหมทดแทน ” ในบทความนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องราวของสินไหมทดแทนกันค่ะว่าคืออะไร โดยเฉพาะใครที่ทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ขอบอกเลยว่าจำเป็นต้องรู้ ! เพราะเป็นเรื่องราวใกล้ตัวมากที่สุด แต่ก่อนอื่นเราไปดูความหมายของค่าสินไหมทดแทนกัน ว่าหมายถึงอะไร คืออะไรกันแน่ ??

หัวข้อค่าสินไหมทดแทนที่น่าสนใจ

สินไหมทดแทน คืออะไร

ถ้าให้อธิบายความหมายแบบง่าย ๆ สินไหมทดแทน คือ เงินทดแทน หรือเงินชดเชยที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับหลังจากที่ได้รับความเสียหายจากการทำประกันภัยประเภทต่าง ๆ เช่น ถ้าทำประกันชีวิตเอาไว้หากเกิดเหตุเสียชีวิต หรือทุพพลภาพตามเงื่อนไขก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์

อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ สมมติว่าเราทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ แล้ววันนึงรถเกิดไฟไหม้ หรือรถชนขึ้นมา แน่นอนเลยว่ารถยนต์เสียหาย เราก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนไม่เกินวงเงินที่ได้ระบุเอาไว้เช่นกัน อ่านความคุ้มครองของประกันชั้น 1 ได้ที่นี่ : ประกันชั้น1 คุ้มครองอะไรบ้าง ถ้าไม่อ่านอย่าเพิ่งทำประกันภัย !

การจะได้รับค่าสินไหมทดแทนได้นั้น ทางบริษัทประกันภัยต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น นั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเองจริง ๆ ไม่ใช่การจัดฉากเพื่อหวังเงิน เคลมประกัน หากบริษัทตรวจสอบเจอขึ้นมาว่าผู้เอาประกันนั้นวางแผนจัดฉากเพื่อหวังเงินค่าสินไหมทดแทนละก็ นอกจากจะไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนแล้ว เผลอ ๆ ยังถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอีกด้วย !

ใครเป็นผู้รับค่าสินไหมทดแทน

บุคคลที่มีสิทธิ์จะได้รับ ค่าสินไหมทดแทน นั้นมี 2 คนด้วยกัน คือ

1. ผู้เอาประกันภัยเอง

2. ผู้รับผลประโยชน์ (จะเห็นได้ชัดจากกรณีที่ทำประกันชีวิตไว้)

กรณีไหนถึงสามารถเรียกสินไหมทดแทนได้

ค่าสินไหมกรณีเสียชีวิต

  • ค่าปลงศพ
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับจัดงานศพ
  • รายได้ทดแทนของผู้เสียชีวิตที่เคยได้
  • ค่าขาดแรงงาน
  • ค่าขาดไร้อุปการะ

ค่าสินไหมกรณีป่วยไข้หรือบาดเจ็บ

  • ค่ารักษาพยาบาล
  • ค่าเสียความสามารถในการประกอบอาชีพการงานในปัจจุบัน
  • ค่าเสียความสามารถในการประกอบอาชีพการงานในอนาคต
  • ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไประหว่างการรักษา
  • ค่าเสียหายแก่ร่างกายเมื่อพิการหรือทุพพลภาพ
  • ค่าเสียหายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงิน

ค่าสินไหมกรณีทรัพย์สินเสียหาย

  • ผู้เอาประกันจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันน้อยลง
  • กรณีที่เราไม่มีคู่กรณี หรือเราไม่ผิด
  • ยอดเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเองตามความสมัครใจ

เบิกค่าสินไหมทดแทน ใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • แบบฟอร์มการเรียกสินไหมทดแทนประกันภัยประเภทต่าง ๆ (ขอได้จากบริษัทประกัน หรือโบรกเกอร์ประกันภัย)
  • เอกสารยืนยันตัวตน เช่น สำเนาบัตรประชาชน
  • ใบเสร็จรับเงิน
  • ใบแจ้งความเสียหาย

***การแจ้งเบิก ค่าสินไหมทดแทน ของประกันแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน แนะนำว่าให้สอบถามกับบริษัทประกัน หรือโบรกเกอร์ประกันภัยอีกครั้ง

อ่านเพิ่มเติม : สรุปมาแล้ว 10 โบรกเกอร์ประกันภัยรถยนต์ ที่ไหนดี ที่สุดในเมืองไทย ปี 2020

ขั้นตอนการเบิกค่าสินไหมทดแทน

หลังจากที่เตรียมเอกสารการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเรียบร้อย ก็ให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน จากนั้นก็ยื่นเอกสารประกอบอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล ใบแสดงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ออกเองไปก่อน ใบแจ้งความเสียหายที่เกิดขึ้น ภาพประกอบต่าง ๆ หรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถโทรสอบถามจากบริษัทประกันภัยได้ จากนั้นก็รวบรวมเอกสารทั้งหมดส่งให้บริษัทประกันภัย หรือถ้าใครซื้อประกันผ่านโบรกเกอร์ประกันภัย ก็แจ้งให้ทางโบรกเกอร์ทำเรื่องให้ได้เช่นกัน

เบิกค่าสินไหมทดแทน ใช้เวลากี่วัน

ระยะเวลาการเบิกค่าสินไหมทดแทน ส่วนมากจะอยู่ที่ประมาณ 7-15 วันทำการ

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ทำประกันภัยอย่างเรา ๆ ด้วย ว่าส่งเอกสารครบถ้วน สมบูรณ์หรือไม่ เพราะบริษัทประกันภัยจะทำเรื่องอนุมัติค่าสินไหมทดแทนได้ก็ต่อเมื่อได้รับเอกสารประกอบครบถ้วนแล้วเท่านั้น !

การเรียก ค่าสินไหมทดแทน ทางผู้ทำประกันภัยควรเตรียมเอกสารประกอบต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพื่อที่จะได้ทำเรื่องเบิกค่าสินไหมทดแทนได้ไวขึ้นภายใน 7-15 วัน ก็หวังว่าเพื่อน ๆ จะเข้าใจเรื่องสินไหมทดแทนกันมากขึ้นนะคะ อย่าลืมเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนน้า

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ ข้อมูลนี้มีประโยชน์มากแค่ไหน !
[จำนวนคนโหวต: 2 เฉลี่ย: 2]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save